ราชบัณฑิตยสภาออกมาตรฐานมาก็ดูเหมือนจะดี ยึดหลักสัทศาสตร์ รายละเอียดขี้เกียจอธิบาย ดูเอาที่ http://www.royin.go.th ดีกว่า
ระบบที่ว่าทำให้คนที่หลงยึดติดว่าอักษรโรมันคือภาษาอังกฤษอึดอัด เพราะพาลจะออกเสียงแบบภาษาอังกฤษให้ได้ แต่ถ้าคิดดูดีๆฝรั่งทุกชาติก็ใช้อักษรโรมันทั้งนั้น แต่ออกเสียงไปคนละทิศละทาง
ในขณะที่หลายชาติในเอเชียหยิบยืมมาใช้อย่างมีหลักการกันมานานแล้ว อย่างน้อยก็เวียดนาม จีน อินโดนีเซีย ล่ะเอ้า!
ปัญหาคือระบบของราชบัณฑิตมีจุดบกพร่องที่สำคัญอยู่ 4 จุด
1. เสียง จ กับ ช (และ ฉ, ฌ) ดันใช้ ch แทนเสียงเหมือนกัน ทั้งๆที่ระบบลอกมาตรฐานมา แต่ดันทิ้ง c ที่แทน จ ซะ ด้วยเหตุผลที่ว่ากลัวคนสับสน ทั้งๆที่ระบบใหม่ไหนๆก็ทำคนสับสนอยู่แล้ว ถ้ายืนยันจะไม่ใช้ c จริงๆ ก็น่าจะลอง j ดู ผิดมาตรฐาน,เสียงไม่ตรง แต่อย่างน้อยคนไทยก็คุ้นเคยพอควร
2. สระออกับสระโอ ใช้ o เหมือนกัน น่าจะใช้ oa แทนสระโอนะครับ
3. ภาษาไทยมีเสียงสระสั้นยาว แต่ระบบที่กำหนดไว้ไม่มี อันที่จริงคนอ่านคงเดาจากบริบทได้ถ้าเป็นประโยคเป็นเรื่องเป็นราว แต่ถ้ามาคำเดียวโดดๆใครจะกล้าฟันธง ขอเสนอให้ใช้ : มากำกับเสียงยาว เช่น ka อ่าน กะ ka: อ่าน กา
4. ระบบที่ว่าไม่มีวรรณยุกต์ อันนี้มึนมาก ไม่รู้คิดได้ไง ทั้งๆที่มีตัวอย่างเวียดนามกับจีนที่เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์เหมือนเราเขาก็ม ีระบบกำกับวรรณยุกต์ในระบบของเขา เพียงแต่จะเขียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ที่สำคัญบรรพบุรุษไทยตั้งชื่อเสียงวรรณยุกต์เป็นหมายเลขให้เรียบร้อย เอก โท ตรี จัตวา เข้าใจง่ายกว่า อิง หยาง ส่าง ชวี่ ในภาษาจีนเป็นไหนๆ ก็น่าจะกำกับเป็น 1, 2, 3, 4 ได้เลย ติดขัดอยู่นิดนึงตรงเสียงสามัญ มีสองทางเลือกคือ อย่างแรก ไม่ต้องมีสัญญลักษณ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ดีตรงที่ว่าอาจเกิดการเข้าใจผิดได้ว่าเป็นคำที่เลือกไ ม่กำกับวรรณยุกต์ อีกทางหนึ่งคือใช้เลข 0 แต่ก็อาจจะไปสับสนกับอักษร O ได้ เคยเห็นมาตรฐานที่กำหนดทางคอมพิวเตอร์ใช้ 1-5 แทนไปเลย แต่ไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่ เพราะเสียงเอกแทนด้วยเลข 2 มันขัดตาขัดใจจริงๆ คงต้องฝากให้คิดเป็นการบ้านต่อไป
ลองเขียนดูซิจะได้ความยังไง
lo:ng0 khia:n4 du:0 si3 ja1 dai2 khwa:m0 yang0 ngai0
เขียนแบบไม่กำกับวรรณยุกต์
lo:ng khia:n du: si ja dai khwa:m yang ngai
แบบละทุกอย่าง
long khian du si ja dai khwam yang ngai
แบบมาตรฐานปัจจุบัน
long khian du si cha dai khwam yang ngai
เชิญลองพิจารณาดูเอานะครับ
(เขียน 2006-07-20)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น